5 ข้อน่ารู้ ไว้ป้องกันก่อนไฟไหม้บ้าน
ประสบการณ์จริงจากผู้ใช้รอกหนีไฟ
ธันวาคม 8, 2016
เกิดเหตุถไฟไหม้บ้านเรือนประชาชนกลางตลาดสดเมืองศรีราชา ไหม้วอดไปกว่า 15 คูหา สาเหตุเบื้องต้นเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายราย ค่าเสียหายไม่ต่ำกว่า 20 ล้าน
ไฟไหม้ใหญ่กลางตลาดสดศรีราชาลุกลามกว่า 15 คูหา
มกราคม 9, 2017
สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ และวิธีป้องกัน

สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ และวิธีป้องกัน เหตุการณ์ไฟไหม้ - seohan

สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ และวิธีป้องกัน เหตุการณ์ไฟไหม้ – seohan

สาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้
           อัคคีภัยเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน และที่ผ่านมาก็พบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความประมาทและมองข้ามสิ่งเล็กๆน้อยๆเช่น ประมาทในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าการใช้เชื้อเพลิงทั้งน้ำมันและแก็ส หรือโดยเหตุจากธรรมชาติ ล้วนแต่สามารถป้องกันได้ทั้งสิ้นการเผาขยะและหญ้าแห้ง บ่อยครั้งที่สาเหตุเพลิงไหม้ที่สร้างความสูญเสียใหญ่หลวงเกิดจากสิ่งเล็กๆน้อยๆ อย่างการเผาขยะและหญ้าแห้งดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม ไม่ควรเผาขยะในที่ที่มีลมแรงและต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด  ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นสาเหตุอันดับต้นๆของเพลิงไหม้ เนื่องจากสภาพการใช้งานนาน ขาดการดูแลบำรุงรักษา ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดจงจร หรือการใช้เครื่องใช้เครื่องไฟฟ้าต่างๆ

จุดธูปเทียนบูชาพระ
เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่พบบ่อยเช่นกัน เนื่องจากหลังจุดธูปเทียนทิ้งไว้แล้วไม่ได้ดับ ก้นบุหรี่ การสูบบุหรี่หรือจุดไฟในบริเวณที่มีไอของสารระเหย เช่น น้ำมันเบนซินอาจทำให้เกิดการจุดติด ก็เป็นอีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดเพลิงไหม้

ปล่อยให้เด็กเล่นไฟ

เมื่อทราบสาเหตุแล้วก็ต้องรู้การป้องกันอัคคีภัย

ความเสียหายที่เกิดจากอัคคีภัย เป็นการยากที่จะควบคุมและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้อย่างเด็ดขาดและเสมอไปเพราะอัคคีภัยนั้นเปรียบเสมือน “ศัตรูที่ไม่รู้จักหลับ” และความประมาทเลินเล่อของผู้ทำงานหรือผู้ประกอบกิจการเป็นจำนวนมาก ย่อมจะเกิดและมีขึ้นได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง จึงเห็นควรที่จะต้องช่วยกันป้องกันอัคคีภัยในการป้องกันอัคคีภัยจะมีสิ่งที่ควรปฏิบัติเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างอีกมากมาย แต่ก็ มีหลักการง่าย ๆ ในการป้องกันอัคคีภัยอยู่ 5 ประการ คือ

1. การจัดระเบียบเรียบร้อยภายในและภายนอกอาคารให้ดี เช่น การขจัดสิ่งรกรุงรังภายในอาคาร บ้านเรือนให้หมดไปโดยการเก็บรักษาสิ่งที่อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้ให้เป็นสัดส่วน ซึ่งเป็นบันได ขั้นต้นในการป้องกันอัคคีภัย

2. การตรวจตราซ่อมบำรุงบรรดาสิ่งที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการ เช่น สายไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อนให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ และความปลอดภัยก็จะป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัย ได้ดียิ่งขึ้น

 

 

 

ในโรงงานอุตสาหกรรมก็ปลอดภัยจากอัคคีภัยได้ ซึ่งจะแบ่งการปฏิบัติไว้เป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณที่มีการผลิตและที่ใช้ในการเก็บสินค้า
บริเวณที่มีการผลิต
1) ด้านเครื่องจักร ควรมีการตรวจเช็คซ่อมบำรุงเป็นประจำให้อยู่ในสภาพที่ดี
2) ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ต้องอยู่ในสภาพที่ดีและได้รับการตรวจเช็คเป็นประจำ ควรหลีกเลี่ยงการต่อสายไฟฟ้าโดยใช้ผ้าเทปพันหรือการต่อแบบชั่วคราว หลังเลิกงานควรปิดสวิตซ์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เมนใหญ่
3) การขจัดแหล่งที่เป็นบ่อเกิดของไฟอื่น ๆ ควรงดมิให้มีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการผลิต ความสะอาดเป็นหลัก เบื้องต้นของการป้องกันอัคคีภัย บริเวณที่มีการผลิตควรมีถัง หรือถาดไว้รองรับเศษของการผลิตหรือเศษของอื่น ๆและหลัง เลิกงานต้องนำไปทิ้งทุกวัน กรรมวิธีใดที่มีความอันตรายในการก่อให้เกิดอัคคีภัยสูงควรจะแยกออกจากส่วนต่างๆ และจัดให้มีการป้องกันเฉพาะขึ้น
4) การจัดเก็บสินค้า สินค้าไม่ว่าวัตถุดิบหรือสำเร็จรูปควรอยู่ในบริเวณการผลิตน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น วัตถุไวไฟที่ใช้ในการผลิตต้องถูกจำกัดเพียงเพื่อพอใช้ในหนึ่งวัน หลังเลิกงานต้องนำวัตถุไวไฟนั้นไปเก็บยังที่จัดไว้เฉพาะ
5) การปฏิบัติหลังเลิกงาน หลังเลิกงานทุกวันควรมีการเดินตรวจดูความเรียบร้อย เช่น วัตถุไฟฟ้าได้นำไปเก็บในที่จัดเก็บไว้โดยเฉพาะ อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชิ้นได้ปิดสวิตซ์เรียบร้อยหรือยัง และรวมถึงการทำความสะอาดด้วย
บริเวณที่ใช้เก็บสินค้า
1) ด้านการจัดเก็บ
– การเก็บสินค้าควรเก็บอย่างมีระเบียบ ภายในบริเวณจัดเก็บต้องมีช่องทางเดินสินค้า ควรจัดเก็บเป็นล็อก ๆในแต่ละเลือกต้องมีช่องทางเดินและปริมาณสินค้าไม่มากเกินไปความสูงไม่เกิน 6 เมตร หรือ 1 เมตร จากเพดานถึงหลังคาและสินค้าควรอยู่ห่างจากแสงไฟ
– สินค้าควรอยู่บนที่รองรับหรือชั้นวางของ
– ควรเว้นและมีการขีดเส้นกำหนดแนววางสินค้า
2) การจับยกสินค้า ของเหลวไวไฟ แก๊สหรือวัตถุไวไฟอื่น ๆ ควรเก็บแยกต่างหากจากสินค้าอื่น ๆ และสามารถทำได้ควรแยกห้องเก็บวัตถุไวไฟ
3) การขจัดแหล่งที่เป็นบ่อเกิดของไฟอื่น ๆ
– ควรงดมิให้มีการสูบบุหรี่ในบริเวณที่มีการเก็บสินค้า
– ไม่ควรมีการผลิตหรือดำเนินการใด ๆ ในบริเวณที่เก็บสินค้า เช่น การอัดแบตเตอรี่
– ควรรักษาความสะอาดบริเวณที่เก็บสินค้าเป็นประจำ เช่น จากเศษกระดาษที่ใช้ห่อสินค้า
4) การตรวจเช็คดูแลและความปลอดภัย
– สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าในบริเวณที่เก็บสินค้าควรได้รับการตรวจ เช็คเป็นประจำ
– บริเวณที่เก็บสินค้าควรปิดล็อคไว้เสมอเมื่อไม่ได้ใช้และห้ามบุคคลภายนอกซึ่งไม่ได้รับอนุญาติเข้าไป
– อุปกรณ์ดับเพลิงควรติดตั้งบริเวณทางเข้าออก

หนีไฟ รอกหนีไฟ อุปกรณ์หนีไฟ