5 ข้อน่ารู้ ไว้ป้องกันก่อนไฟไหม้บ้าน
5 เทคนิคการใช้รอกหนีไฟ อุปกรณ์หนีไฟ จาก SEOHAN F& C
พฤศจิกายน 2, 2016
หนีไฟ รอกหนีไฟ อุปกรณ์หนีไฟ
ไฟไหม้บ้านในซอยสวนพลู6วอดทั้งหลัง
พฤศจิกายน 16, 2016
วิธีการป้องกันอัคคีภัยแบบฉบับ seohan รอกหนีไฟ อุปกรณ์หนีไฟ

วิธีการป้องกันอัคคีภัยแบบฉบับ seohan รอกหนีไฟ อุปกรณ์หนีไฟ

 

วิธีการป้องกันอัคคีภัยแบบฉบับ seohan รอกหนีไฟ อุปกรณ์หนีไฟ

 

วิธีการป้องกันอัคคีภัยแบบฉบับ seohan รอกหนีไฟ อุปกรณ์หนีไฟ

 

ไฟไหม้บ้าน เป็นเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่เรื่องแบบนี้บางครั้งก็เป็นความพลาดพลั้ง และเป็นอุบัติเหตุที่ไม่มีใครคาดคิด ดังนั้นสิ่งที่พอจะทำได้ก็คงเป็นการป้องกันให้รอบคอบ และถ้าต้องตกอยู่ในสถานการณ์คับขันอย่างไฟไหม้บ้าน ก็ต้องหาทางเอาตัวรอดออกมาให้ปลอดภัยโดยเร็วที่สุด วันนี้เรามีวิธีป้องกันไฟไหม้ และวิธีเอาตัวรอดเมื่อไฟไหม้บ้าน เพื่อให้ชีวิตของทุกคนในบ้านปลอดภัย และไม่เสี่ยงอันตรายจากไฟไหม้นะคะ ลองไปดูกันเลย

 

ตรวจสอบบรรดาสายไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ใช้อยู่ในบ้านของคุณ เช่น ถ้าสายไฟเก่าโทรม เปื่อยยุ่ย ถลอกปอกเปิกควรเปลี่ยน ไม่ควรนำปลั๊กไฟ 1 ตัว ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายตัว หรือใช้ไฟเกินขนาด เดินสายไฟแบบซ่อนไว้ใต้พรม แต่ไม่เคยตรวจเช็กมานานแล้ว

 

อย่าให้เด็กเล่นไม้ขีดไฟ ไฟแช็ค และต้องเก็บให้พ้นตาพ้นมือเด็กๆ ต่อเมื่อลูกโตแล้ว (ราวๆ 8ขวบขึ้นไป) จึงค่อยสอนให้เจ้าหนูรู้จักวิธีการจุดไม้ขีดไฟ ไฟแช็ค ด้วยวิธีที่ถูกต้องก็จะดีกว่า หากเขาแอบไปจุดไฟเอง แล้วเกิดตกใจหรือพลาดพลั้ง ทำให้ลวกมือลวกหน้าหรือทำไม้ขีดไฟตกพื้นและลามไปทั่วจนเกิดไฟไหม้

 

บุหรี่ นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่ทราบกันดีแล้ว มันยังเป็นตัวการสำคัญก่อให้เกิดอัคคีภัย

 

ก่อนเข้านอนหรือก่อนออกจากบ้าน ควรแน่ใจว่า ไม่ได้จุดธูป จุดเทียน เปิดแก๊ส เปิดเตาไฟฟ้าเสียบปลั๊ก (โดยเฉพาะปลั๊กเตารีด) ทิ้งค้างไว้

 

บรรดาเสื้อผ้าเก่าๆ หนังสือพิมพ์ นิตยสารเก่าๆ ใบไม้แห้งที่ร่วงเกลื่อนสนาม ล้วนแล้วแต่เป็น “เชื้อเพลิง” ที่ติดไฟได้ง่ายทั้งสิ้น ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้แล้วควรกำจัดออกจากบ้านเรือน

 

เสื้อนอนลูก ถ้าจะให้ปลอดภัยต้องเลือกแบบไม่ติดไฟ

 

อย่าให้ลูกเล่นวัตถูไวไฟ หรือวัตถุระเบิดทั้งหลาย เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรค น้ำมันก๊าด สเปรย์กระป๋อง และดอกไม้ไฟ ประทัด เม็ดมะยม ที่เด็กๆ (แอบ) ซื้อมาเล่น!

 

อย่าทิ้งเด็กให้อยู่บ้านตามลำพัง คงไม่ต้องพูดอะไรอีกนะครับ ข่าวที่ผมยกมาข้างต้น คงจะเป็นอุทาหรณ์อันแสนรันทดใจที่ยากจะลืม!

 

ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีอุปกรณ์ดับไฟ (เครื่องดับเพลิง) ที่ได้มาตรฐานประจำบ้าน จะดีมากหากจะมีเกิน 1 ตัวและที่โรงรถ (ถ้ามี) อีก 1 ตัว ศึกษาวิธีการใช้เครื่องดับเพลิงประจำบ้านนี้อย่างละเอียด ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด พร้อมกับฝึกฝนวิธีการใช้ด้วยนะครับ

 

”จด” และ “จำ” จด (ด้วยตัวโตๆ) เบอร์โทรศัพท์ของสถานีดับเพลิงใกล้บ้าน และแปะติดไว้ในที่เห็นได้ง่ายๆ
หรืออย่างน้อยให้ทุกคนในบ้านจำเบอร์ 199 ให้ได้

 

หากจำเป็นต้องใส่ “เหล็กดัด” ตามประตูหน้าต่างเพื่อกันขโมย ก็ไม่ควรใช้แบบติดตาย แต่ให้เปิดปิดได้ด้วยกุญแจ และลูกกุญแจนั้นจะต้องเก็บไว้ ณ ที่ที่หยิบได้ทันทีที่มีเหตุฉุกเฉิน