8วิธีการช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น เมื่อประสบเหตุเพลิงไหม้
8 วิธีการช่วยเหลือตนเองเบื้องต้น เมื่อประสบเหตุเพลิงไหม้
ตุลาคม 28, 2016
5 ข้อน่ารู้ ไว้ป้องกันก่อนไฟไหม้บ้าน
5 เทคนิคการใช้รอกหนีไฟ อุปกรณ์หนีไฟ จาก SEOHAN F& C
พฤศจิกายน 2, 2016
วิธีการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้เบื้องต้น

วิธีป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานโรงงานอุตสาหกรรมก็ปลอดภัยจากอัคคีภัยได้ - seohan

วิธีการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้เบื้องต้น

 

วิธีการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้เบื้องต้น

วิธีการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้เบื้องต้น

 

แผลถูกไฟไหม้   หมายถึง   แผลที่ผิวหนังหรือเนื้อถูกทำลายเนื่องจากถูกความร้อน ซึ่งอาจเกิดจากไฟหรือกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ รวมถึงการถูกสารเคมีวัตถุจำพวกกรดและด่างด้วย

 

ผู้ที่ถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก จะมีอาการและอันตรายมากหรือน้อยก็แล้วแต่ผิวหนังที่ถูกไหม้หรือลวก หากมีบาดแผลกว้างจะทำให้ติดเชื้อและมีโรคแทรกซ้อนได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรู้ระยะของอาการและอันตรายก่อนที่จะปฐมพยาบาล ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

 

1.ระยะช็อคขั้นต้น ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการช็อคทันที เมื่อถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ผู้ป่วยจะมีอาการหมดสติ ชีพจรเต้นเบาแต่เร็วมาก กระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก และอาจถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีและรวดเร็ว

 

 

2.ระยะช็อคขั้นที่สอง จะเกิดขึ้นภายหลังจากถูกไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวกแล้วประมาณ 2 -24 ชั่วโมงอาการคล้ายอาการช็อคขั้นต้น แต่รุนแรงกว่า การช็อคขั้นนี้มีสาเหตุมาจากการเสียน้ำในร่างกายมาก เพราะถูกไฟเผาและเหงื่อออก

 

 

3. ระยะเกิดพิษ  ระยะเกิดพิษจะเป็นระยะที่ติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดหนองที่บาดแผล อาการขั้นนี้จะเกิดขึ้นภายหลังจากไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกมาแล้วประมาณ 48 – 72 ชั่วโมง อาการระยะนี้จะมีอาการอักเสบ มีหนอง มีไข้สูง ชีพจรเต้นเร็ว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และอาจถึงแก่ความตายได้

 

 

4. ระยะเกิดแผลเป็น เมื่อบาดแผลหายมักจะเกิดแผลเป็นขึ้นจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่บาดแผล ที่ถูกไหม้หรือลวก หรือการรักษาถูกต้องเพียงใด การปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟ

 

 

วิธีการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้เบื้องต้น

วิธีการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้เบื้องต้น

ดังนั้นเราจึงแนะนำแนวทางในการปฎิบัติตนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บแบบเบื้องต้น 3 ข้อหลักดังนี้

 

 

1. ใช้น้ำสะอาด ราด รด หรือแช่ผู้บาดเจ็บจากไฟลวก เพื่อลดความเจ็บปวดของบาดแผล หยุดการทำลายจากความร้อน

 

2. หากผู้บาดเจ็บสวมแหวน นาฬิกา กำไล ให้รีบถอดออก เพราะไม่นานบริเวณที่ถูกความร้อนจะเกิดอาการบวม

 

 

3. ปิดแผลด้วยผ้าปิดแผล ถ้าหาไม่ได้ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอนหรือผ้าปูที่นอนพันบาดแผลไว้ และรีบนำส่งโรงพยาบาล