อุปกรณ์ดับเพลิง

ถังดับเพลิง ( fire extinguisher) เป็นอุปกรณ์ดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ ประกอบด้วยถังแรงดันซึ่งบรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่นๆ, พร้อมมือจับ, ไกเปิด/ปิด , สลักนิรภัย, และสายฉีด ออกแบบไว้สำหรับการดับเพลิงไหม้ที่ยังไม่ลุกลาม

ตัวถังดับเพลิงนั้น มักจะเป็นสีแดงเพื่อให้มองเห็นได้ง่าย และติดตั้งไว้เป็นระยะห่างๆ กันภายในอาคาร, ซึ่งเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้ใช้สามารถหิ้วถังจากจุดติดตั้งมาในบริเวณที่เกิดเหตุ ดึงสลักนิรภัยออก จับสายฉีดให้ปลายหันเข้าหาเปลวไฟ, และเมื่อทำการบีบไก น้ำหรือสารเคมีที่อยู่ภายในถังก็จะพุ่งตรงไปยังบริเวณที่ไฟไหม้ และดับไฟลงในที่สุด

ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ขึ้นกับชนิดของสารดับเพลิงซึ่งบรรจุอยู่ในถัง

ชนิดของถังดับเพลิง

ชนิดของถังดับเพลิงจะจัดแบ่งไว้ตามประเภทของเชื้อเพลิงซึ่งถังนั้นดับได้ โดยจะระบุไว้อย่างชัดเจนบนฉลากข้างถัง, ซึ่งในประเทศไทยจะใช้การแบ่งประเภทตามมาตรฐาน NFPA 10 ของ USA

วิธีการใช้
ประเภท A
เป็นสัญลักษณ์รูปตัว A ในสามเหลี่ยมสีเขียว, สามารถดับไฟที่เกิดจากของแข็ง เช่น ฟืน ยาง ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก หนังสัตว์ ปอนุ่น ด้าย และ เชื้อประทุ วิธีการดับเพลิงที่ดีที่สุดสำหรับเพลิงประเภทนี้คือการลดความร้อนโดยใช้น้ำฉีด
ประเภท B
เป็นสัญลักษณ์รูปตัว B ในสี่เหลี่ยมสีแดง, สามารถดับไฟที่เกิดจากของเหลว และ แก๊ส เช่น น้ำมันทุกชนิด สารโซเว้น แก๊ส ทินเนอร์ แอลกอฮอล์ ยางมะตอย จาระบี และ ก๊าซติดไฟทุกชนิด
ประเภท C
เป็นสัญลักษณ์รูปตัว C ในวงกลมสีฟ้า, สามารถดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็ง หรือมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด
ประเภท D
เป็นสัญลักษณ์รูปตัว D ในรูปดาว 5 แฉก, สามารถดับไฟที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของโลหะ
ประเภท K
เป็นสัญลักษณ์รูปตัว K ในรูปหกเหลี่ยมสีดำ, สามารถดับไฟที่เกิดจากไขมันสัตว์ หรือน้ำมันทำอาหาร

ประเภทของถังดับเพลิง
1.ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical)  สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS  K  ราคาถูก  หาซื้อง่าย แต่มีข้อเสียคือเมื่อฉีดออกมาจะฟุ้งกระจาย และเมื่อเราทำการฉีดแล้ว จะฉีดจนหมดหรือไม่หมดถัง แรงดันจะตก ไม่สามารถใช้งานได้อีก ต้องส่งบรรจุใหม่ ถังสีแดง

2.ชนิดน้ำยาเหลวระเหย (BF2000 NON-CFC)  สามารถดับไฟได้เกือบทุกประเภท A B C ยกเว้น CLASS  K  ราคาถูก  หาซื้อง่าย ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เมื่อฉีดออกจะเป็นไอระเหยสีขาว และจะระเหยไปเองโดยไม่ทำให้วัสดุ อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย และไม่ทำให้สกปรกในบริเวณ ที่ใช้งาน ถังสีเขียว

3.ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สารเคมีภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟได้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟได้ประเภท B C เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องเครื่องจักร  Line การผลิต  อุตสาหกรรมอาหาร
ถังสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่เป็นพิเศษ

4.ชนิดโฟม สารเคมีภายในบรรจุโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมคลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟได้ประเภท A B แต่ไม่สามารถนำไปดับไฟประเภท C ได้เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า  เหมาะสำหรับภาคอุตสาหกรรม ดับเชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ และสารระเหยติดไฟ
ถังแสตนเลส

5.ชนิดน้ำ สารเคมีจะเป็นน้ำยาชื่อว่า “ABFFC” ที่ใช้สำหรับการดับไฟได้ดี ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า สามารถดับไฟได้ทุกประเภท A B C และ K ราคากลางๆ แต่จะแพงกว่าถังชนิดเคมีแห้ง เหมาะกับใช้ในบ้าน เนื่องจากสามารถดับไฟที่เกิดจากน้ำมันทอดในครัวเรือนได้ และหากมีการใช้งานแล้ว ฉีดสารเคมีไม่หมด ยังสามารถใช้ต่อจนหมดได้ ถังมีหลายสี แล้วแต่ผู้จำหน่าย ได้แก่ สีฟ้า  แสตนเลส  หรือบางรายใช้สีเขียว

สาธิตวิธีการใช้รอกหนีไฟ รอกหนีไฟ อุปกรณ์หนีไฟ seohan
รอกหนีไฟ อุปรณ์หนีไฟ